Covid Profile, Updates

Spike protein โปรตีนหนาม ส่วนกลายพันธุ์ครั้งใหญ่ของ “โอมิครอน”

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสการพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กลายเป็นเรื่องที่หลายวงการให้ความสนใจ และยังมีหลายประเด็นที่กำลังอยู่ในช่วงของการศึกษาหาข้อสรุปกันต่อไป อย่างไรก็ตามการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ในช่วงนี้ จะมีคำๆ หนึ่งที่ปรากฎให้เราเห็นในอยู่แทบทุกข่าว นั่นคือคำว่า “โปรตีนหนาม” ซึ่งมาจนถึงตอนนี้เราคงคาดเดากันได้ไม่ยากว่าน่าจะหมายถึง ปุ่มที่ยื่นๆ ออกมา หน้าตาคล้ายหนาม เวลาที่เราดูภาพขยายของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 แล้วโปรตีนหนามมีความสำคัญแค่ไหน และทำไมจึงเป็นสิ่งที่ Humasis ให้ความสนใจนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ทำความรู้จัก โปรตีนหนาม

เชื้อไวรัสโดยทั่วไปจะมีสารพันธุกรรมที่ห่อหุ้มด้วยโปรตีนส่วนเปลือก ซึ่งเชื้อไวรัสโควิค-19 มีลักษณะเฉพาะคือ โปรตีนส่วนเปลือกมีลักษณะปุ่มจำนวนมากยื่นออกมาคล้ายมงกุฎ หรือหนาม จึงเรียกว่าโปรตีนหนาม (Spike protein) ที่ปลายหนามจะมีตัวรับ (Receptor Binding Domain-RBD) ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมาก เชื้อไวรัสโควิด-19 จะใช้โปรตีนหนามยึดตัวเองเข้ากับผนังเซลล์ด้านนอกของเซลล์มนุษย์แล้วแทรกเข้าไปในเซลล์ และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์เป็นทวีคูณไปเรื่อยๆ หากมีมากจนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดไหว จะทำให้คนคนนั้นล้มป่วยลง และแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ

การศึกษาโครงสร้างรหัสพันธุกรรมของโปรตีนหนามแสดงให้เห็นว่าเชื้อโควิด-19 จากผู้ติดเชื้อแต่ละพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลามีโครงสร้างที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ช่วยให้เราเข้าใจเส้นทางการแพร่ระบาด และการกลายพันธุ์ของเชื้อได้มากขึ้นอีกด้วย

ไวรัสทุกชนิดสามารถกลายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ ในปัจจุบันมีเชื้อ Sars-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 หลายสายพันธุ์แพร่ระบาดอยู่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อคุณสมบัติของเชื้อไวรัส และมักค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา แต่นาน ๆ ครั้ง เราจะพบการกลายพันธุ์ในลักษณะที่ช่วยให้มันอยู่รอดและเพิ่มจำนวนขึ้นได้ จนเป็นการกลายพันธุ์ในลักษณะที่อยู่ในกลุ่ม สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern; VOC) หรือสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI) เช่น สายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา ฯลฯ ซึ่งการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเกิดตรงส่วนของหนามโปรตีน และมีความสำคัญเพราะจะส่งผลกระทบหลายอย่าง ทั้งความสามารถในการเข้าเซลล์ของไวรัส การแพร่ระบาด ไปจนถึงรูปร่างที่เปลี่ยนไป จนภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มาจากวัคซีนอาจจำไม่ได้

ทำไม “โอมิครอน” โควิดชนิดใหม่นี้จึงน่ากังวลเป็นพิเศษ

26 พฤศจิกายน 2564 WHO กําหนดให้ B.1.1.529 เป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) โดยให้ชื่อว่า “Omicron” เนื่องจากมีการแพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนอย่างรวดเร็ว และมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิมถึงกว่า 60 ตำแหน่ง

การกลายพันธุ์แบบเหนือความคาดหมายนี้ พบว่าเป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และที่ส่วนตัวรับ (Receptor Binding Domain-RBD) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงอย่างสายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น

Humasis ชุดตรวจ ATK เดียวที่มีการตรวจจับโปรตีนหนาม

Humasis เป็น R&D company ที่มีความชำนาญเรื่องชุดตรวจแบบรวดเร็ว (Rapid Test) เน้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สามารถวิเคราะห์สาเหตุของโรคในมนุษย์ได้รวดเร็วและแม่นยำ ผลิตชุดตรวจแบบรวดเร็วออกมามากมาย และมีแผนพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ COVID-19 มุ่งมั่นลงทุนทำวิจัยเชื้อกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เป็นบริษัทและแบรนด์เกาหลี ที่ปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างสูงในนานาประเทศ

Humasis COVID-19 Ag Test เป็นการตรวจจับการมีอยู่ของโปรตีนจำเพาะของเชื้อโควิด-19 โดยออกแบบให้มีการตรวจจับควบคู่ทั้งแอนติเจนโปรตีน Nucleocapsid Protein (N) และ Spike Protein – RBD ให้ผลการทดสอบได้อย่างแม่นยำตั้งแต่วันที่ 0-7 ของการติดเชื้อ

การมีการตรวจจับแอนติเจนของโปรตีนหนามนี่เองที่เป็นเหตุผลว่าทำไม Humasis จึงให้ผลการทดสอบที่แม่นยำเหนือกว่า ATK ทั่วไปที่ตรวจหาแอนติเจนโปรตีน N เพียงอย่างเดียว

และเนื่องจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ Humasis จึงไม่หยุดที่จะค้นคว้าและพัฒนาชุดตรวจ Humasis เพื่อให้มีประสิทธิภาพและตอบรับกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัท ทรู เฮลท์แคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในนามของคู่ค้าและผู้นำเข้าชุดตรวจ Humasis COVID-19 Ag Test รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นผู้คัดสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพนี้มาสู่สังคมไทย